วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จังหวะ (Time)

จังหวะ (Time)
จังหวะ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดำเนินอยู่ในขณะที่บรรเลงดนตรี สิ้นสุดลงเมื่อจบเพลง จังหวะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของทำนองและแนวประสานเสียงต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน การเดินของจังหวะจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แบ่งเป็น 2 ประเภท1. จังหวะเคาะ (Beat) เป็นหน่วยบอกช่วงเวลาของดนตรี โดยการเคาะจังหวะให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะจบเพลง2. จังหวะทำนอง (Rhythm) เป็นช่วงเวลาที่เสียงดังออกมา มีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวสลับกันไป หรือบางครั้งสลับด้วยความเงียบ
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signatute)เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำหนดอัตราจังหวะและตัวโน้ตในบทเพลง คล้ายกับเลขเศษส่วน แต่ไม่ขีดเส้นใต้ เช่น 2 2 3 4 3 6
2 4 4 4 8 8
ตัวเลขบน
เลข 2 มีตัวโน้ตได้ 2 ตัว ใน 1 ห้อง
เลข 3 มีตัวโน้ตได้ 3 ตัว ใน 1 ห้อง
เลข 4 มีตัวโน้ตได้ 4 ตัว ใน 1 ห้อง
เลข 6 มีตัวโน้ตได้ 6 ตัว ใน 1 ห้อง
ตัวเลขล่าง
เลข 2 แทนโน้ต ตัวขาว
เลข 4 แทนโน้ต ตัวดำ
เลข 8 แทนโน้ต ตัวเขบ็ต 1 ชั้น
เลข 16 แทนโน้ต ตัวเขบ็ต 2 ชั้น
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ
4
4
เป็นจังหวะธรรมดา (Common Time) บางครั้งอาจใช้เครื่องหมาย C เขียนแทน

ขั้นคู่เสียง (Interval)

ขั้นคู่เสียง (Interval)
ขั้นคู่เสียง (Interval) หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดความแตกต่างระหว่างเสียง 2 เสียง โดยการนับระยะห่างของเสียงเรียงตามลำดับขั้นของโน้ตในบันไดเสียง ถ้าคู่เสียงใดเปล่งเสียงออกมาพร้อมกันหรือมีการออกเสียงควบคู่กันในช่วงใดช่วงหนึ่ง เรียกว่า ขั้นคู่เสียงประสาน (Harmonic Interval) เขียนตัวโน้ตในแนวดิ่งถ้าคู่เสียงใดเปล่งเสียงออกมาตามหลังกันโดยไม่มีลักษณะการออกเสียงควบคู่กัน เรียกว่า ขั้นคู่เสียงทำนอง (Melodic Interval) เขียนตัวโน้ตในแนวนอน1. ชื่อขั้นคู่เสียง ชื่อที่ใช้เรียกขั้นคู่เสียงประกอบด้วย 2 ชื่อ คือ 1.1 ชื่อตัวเลข (Number name) ได้จากการนับระยะห่างของเสียง 2 เสียง โดยเรียงจากเสียงหลักขึ้นหรือลง ตามลำดับขั้นของบันไดเสียงขั้นคู่ 1 หรือยูนิชัน จัดเป็นขั้นคู่เสียงได้ แม้จะไม่มีความแตกต่างกันของเสียงก็ตาม 1.2 ชื่อคุณภาพเสียง (Specific name) เป็นชื่อที่บอกคุณภาพเสียงของขั้นคู่เสียงว่ามีน้ำเสียงอย่างไร หรือให้ความรู้สึกอย่างไร มี 5 ชนิด คือ 2.1 ขั้นคู่เสียงเมเจอร์ (Major) ให้ความรูสึกแข็งขัน สดชื่น ร่าเริง 2.2 ขั้นคู่เสียงไมเนอร์์ (Minor) ให้ความรู้สึกอ่อนโยน เศร้า ขรึม 2.3 ขั้นคู่เสียงอ็อกเมนเต็ด (Augmented) ให้ความรู้สึกขัดขืน กระด้าง ประหลาด 2.4 ขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์ (Perfect) ให้ความรู้สึกแจ่มใจ แข็งแรง กลมกลืน 2.5 ขั้นคู่เสียงดิมินิชด์ (Diminished) ให้ความรู้สึกกระด้าง แปร่ง ไม่กลมกลืน การอ่านขั้นคู่เสียงให้เรียกชื่อตัวเลขก่อนแล้วตามด้วยชื่อคุรภาพเสียง ส่วนการเขียนให้เขียนชื่อคุณภาพเสียงแล้วตามด้วยชื่อตัวเลข เช่นขั้นคู่ 1 เปอร์เฟ็คท์ เขียนเป็น per.1stขั้นคู่ 2 เมเจอร์ เขียนเป็น maj.2ndขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ เขียนเป็น min.3rd2. การพิจารณาขั้นคู่เสียง การพิจารณาขั้นคู่เสียงให้ถูกต้องและการนำไปใช้เรียบเรียงเสียงประสานนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบันไดเสียง (Scale) ก่อน 2.1 ขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์ (Perfect) ได้จากการนับระยะห่างของเสียงเริ่มจากโทนิคขึ้นไปถึงขั้นที่ 1 ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 5 และขั้นที่ 8 > โทนิคถึงขั้นที่ 1 เรียกว่า คู่หนึ่งเปอร์เฟ็คท์ (per.1st) > โทนิคถึงขั้นที่ 4 เรียกว่า คู่สี่เปอร์เฟ็คท์ (per.4th) > โทนิคถึงขั้นที่ 5 เรียกว่า คู่ห้าเปอร์เฟ็คท์ (per.5th) > โทนิคถึงขั้นที่ 8 เรียกว่า คู่แปดเปอร์เฟ็คท์ (per.8th) ขั้นคู่ 1 ขั้นคู่ 4 ขั้นคู่ 5 และขั้นคู่ 8 ในบันไดเสียงเมเจอร์ เป็น เปอร์เฟ็คท์ 2.2 ขั้นคู่เสียงเมเจอร์ (Major) ได้จากการนับระยะห่างของเสียงเริ่มจากโทนิคขึ้นไปถึงขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 6 และขั้นที่ 7 > โทนิคถึงขั้นที่ 2 เรียกว่า คู่สองเมเจอร์์ (maj.2nd) > โทนิคถึงขั้นที่ 3 เรียกว่า คู่สามเมเจอร์์ (maj.3rd) > โทนิคถึงขั้นที่ 6 เรียกว่า คู่หกเมเจอร์์ (maj.6th) > โทนิคถึงขั้นที่ 7 เรียกว่า คู่เจ็ดเมเจอร์์ (maj.7th) ขั้นคู่ 2 ขั้นคู่ 3 ขั้นคู่ 6 และขั้นคู่ 7 ในบันไดเสียงเมเจอร์ เป็น เมเจอร์ 2.3 ขั้นคู่เสียงไมเนอร์์ (Minor) ได้จากการลดระยะครึ่งเสียงของขั้นคู่เสียงเมเจอร์ให้แคบลงมาอีกครึ่งเสียง ซึ่งการเพิ่มหรือลดระยะครึ่งเสียงนี้เรียกว่า โครมาติค เซมิโทน (Chomatic semitone) ทำให้ชื่อคุณภาพเสียงเปลี่ยนไปแต่ชื่อตัวเลขไม่เปลี่ยน 2.4 ขั้นคู่เสียงอ็อกเมนเต็ด (Augmented) ได้จากการเพิ่มหรือลดระยะครึ่งเสียงของขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์และขั้นคู่เสียงเมเจอร์ ให้ห่างออกไปอีกครึ่งเสียง 2.5 ขั้นคู่เสียงดิมินิชด์์ (Diminished) ได้จากการลดระยครึ่งเสียงของขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์และขั้นคู่เสียงไมเนอร์ให้แคบลงมาอีกครึ่งเสียง ขั้นคู่เสียงใดที่มีระยะครึ่งเสียงเท่ากันแต่มีชื่อต่างกัน เรียกว่า ขั้นคู่เสียงเอ็นฮาร์โมนิค (Enharmonic interval)3. ขั้นคู่เสียงผสม (Compound interval) ขั้นคู่เสียงที่มีระยะห่างของเสียงภายใน 1 คู่แปด เรียกว่า ขั้นคู่เสียงธรรมดา (Simple interval) ส่วนขั้นคู่เสียงที่มีระยะห่างของเสียงเกินกว่า 1 คู่แปด เรียกว่า ขั้นคู่เสียงผสม (Compound interval) ขั้นคู่เสียงผสมมีชื่อคุณภาพเสียงเหมือนกับขั้นคู่เสียงธรรมดา ต่างกันที่ชื่อตัวเลขเท่านั้น เพิ่มขึ้นโดยการบวก 7 เข้าไป เช่น per.8th per.11th maj.14th เป็นต้น
ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นสำหรับกีตาร์ว่าด้วย Scale และ Mode

Scale
ทฤษฎีพื้นฐานที่จำเป็นมากในขั้นแรกนี้คือเรื่องของการไล่เสียงหรือบันไดเสียงหรือ scale นั่นเอง โดยการนำตัวโน๊ตต่าง ๆ มาไล่เรียงกันไป และสเกลพื้นฐานที่เราควรรู้จักคือ
1. Diatonic Scale ซึ่งเป็นการเรียงโน๊ตจากตัวหนึ่งตามชื่อไปจนครบ 8 ตัวซึ่งก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นเองแต่สูงกว่า 1 octave หรือเรียกว่าคู่ 8 ซึ่งเป็นสเกลมาตรฐานซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสเกลเมเจอร์ และไมเนอร์ เป็นต้น ซึ่งจะมีความห่างของโน๊ตไม่สม่ำเสมอ เช่นบางคู่ห่างกันครึ่งเสียง บางคู่ห่างกัน 1 เสียง เป็นต้น ลองดูตัวอย่าง ของ C เมเจอร์สเกลและ A ไมเนอร์สเกลนะครับ
2. Whole Tone Scale เป็นสเกลหรือบันไดเสียงที่มีการไล่เสียงโดยให้โน๊ตแต่ละตัวมีความห่างกัน 1 เสียงเต็ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการนำเครื่องหมายชาร์ป และแฟล็ทมาใช้ในการบังคับให้โน๊ตมีความห่าง 1 เสียงเต็ม ถ้าเทียบบนคอกีตาร์คือคุณไล่สเกลโดยกดนิ้วข้ามช่องเว้นช่องไปเรื่อย ๆ (เนื่องจากครึ่งเสียง=1 ช่องเฟร็ต และ 2 ช่องเฟร็ต=1เสียงเต็ม) ลองดู C โฮลโทนสเกล นะครับ
3. Cromatic Scale คล้ายกับ whole tone scale แต่ช่วงห่างของเสียงของโน๊ตแต่ละตัวจะเป็นครึ่งเสียงแทน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องหมายชาร์ปและแฟล็ทในการควบคุมโน๊ตเช่นกัน หรือคือการไล่สเกลบนคอกีตาร์โดยการกดไล่ในทุก ๆ ช่องเฟร็ต ( 1 ช่องเฟร็ต=ครึ่งเสียง) ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของ C โครมาติคสเกล
Mode
ผมจะอธิบายแบบง่าย ๆ เลยนะครับจะได้ไม่สับสน "โหมด" ในทางดนตรีก็คือการเรียงลำดับของโน๊ตในสเกลไดอะโทนิคใหม่ หรือพูดอีกทีคือ สเกลเดิมแต่เปลี่ยนโน๊ตที่ขึ้นต้นใหม่เช่นนำโน๊ตตัวที่ 2 ของสเกลมาเป็นตัวขึ้นต้นจากนั้นก็ไล่ต่อไปเป็น 3, 4, 5, 6, 7, 1และจบที่ 2 (ครบ 8 ตัวหรือ 1 octave) นี่คือ โหมดที่ 2 ต่อไปนำโน๊ตตัวที่ 3 มาขึ้นต้น แล้วไล่ใหม่เช่นเดิมเป็น ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 3 และตามด้วย 4, 5, 6, 7, 1, 2 และจบที่ 3 (ครบ 1 octave) ดังนั้นเราจะพบว่าเราสามารถสร้างโหมดได้ 7 โหมด ต่อไปเรามาดูชื่อของแต่ละโหมดดู ผมจะใช้ C เมเจอร์สเกลเป็นตัวอธิบายนะครับเพราะเป็นสเกลพื้นฐานที่ง่ายที่สุดและไม่มีเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ท (ศึกษารายละเอียดเรื่องสเกลเมเจอร์ได้ในเรื่อง major scale และ mode
ลักษณะของ Mode ต่าง ๆ
รายละเอียดของ Mode ต่าง ๆ
โหมดที่ 1 เรียกว่า "ไอโอเนียน" ก็คือเมเจอร์สเกลนั่นเอง คือ เริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวแรกของสเกล การใช้ก็จะเหมือนกับเมเจอร์สเกล
โหมดที่ 2 เรียกว่า "โดเรียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 2 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ D ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 3 เรียกว่า "ฟริเจียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 3 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ E ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 4 เรียกว่า "ลิเดียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 4 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ F ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 5 เรียกว่า "มิกโซลิเดียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 5 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ G ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 6 เรียกว่า "เอโอเลียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 6 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ A ในสเกล C เมเจอร์
โหมดที่ 7 เรียกว่า "โลเครียน" ได้จากการเริ่มและจบลงด้วยโน๊ตตัวที่ 6 ของสเกลเมเจอร์ ก็คือ B ในสเกล C เมเจอร์
ตอนนี้คุณคงจะรู้จักกับ Mode มากขึ้นแล้วนะครับ แล้วต่อไปคุณจะเข้าใจมันมากขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของ Mode และ Scale เอาล่ะครับต่อไปเราไปดูรายละเอียดในเรื่องของเมเจอร์สเกลและสเกลอื่น ๆ รวมทั้งโหมดของสเกลต่าง ๆ เหล่านั้นกันเลย

4. Major Scale และ Mode
Major Scale เป็นสเกลพื้นฐานที่สำคัญและเป็นแม่แบบของสเกลอื่น ๆ อีกหลายชนิดเช่น ไมเนอร์ เพนตาโทนิค เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สร้างมาจากสเกลเมเจอร์
สเกลเมเจอร์เกิดจากการเลียนการออกเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นจะเห็นว่าการไล่เสียงในสเกลเมเจอร์จะเป็นธรรมชาติมากในความรู้สึกเวลาเราออกเสียง มีลักษณะเสียงที่ชัดเจน มั่นคง แต่มีความสดใส เบิกบานแฝงอยู่ จึงถือว่าเป็นสเกลพื้นฐานของดนตรี ต่อมาเรามารู้จักโครงสร้างของสเกลเมเจอร์กันเลยนะครับ
ผมจะใช้ C เมเจอร์สเกลในการอธิบายนะครับ โดยการไล่เป็น Diatonic scale คือเริ่มที่ C และจบที่ C ในอีก octave หนึ่งการไล่เสียงของ C ลองมาดูโครงสร้างของ C เมเจอร์สเกลดู

ดังนั้นจะสรุปง่าย ๆ ได้ดังตารางนี้
ลำดับขั้นของโน๊ตในสเกล
ชื่อของแต่ละลำดับขั้น
ความห่างของเสียง
ขั้นคู่เสียง(Interval)
1st
Tonic
-
ขั้นคู่ 1 (enharmonic)
2nd
Supertonic
1 เสียง
ขั้นคู่ 2
3rd
Mediant
1 เสียง
ขั้นคู่ 3
4th
Subdominant
1/2 เสียง
ขั้นคู่ 4
5th
Dominant
1 เสียง
ขั้นคู่ 5
6th
Submediant
1 เสียง
ขั้นคู่ 6
7th
Leading Note
1 เสียง
ขั้นคู่ 7
8th
Tonic
1/2 เสียง
ขั้นคู่ 8 (octave)
ซึ่งข้อควรสังเกตที่สำคัญที่สุดคือระยะห่างระหว่างเสียงของโน๊ตคู่ระหว่างตัวที่ 3 กับ 4 และคู่ระหว่างตัวที่ 7 กับ 8 มีค่าเป็นครึ่งเสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ จะเต็มเสียงทั้งหมด และนี่คือโครงสร้างหลักของสเกลเมเจอร์ คราวนี้ถ้าเป็นสเกลอื่น ๆ บ้างล่ะ เราลองมาดู สเกล D เมเจอร์ดูบ้าง ซึ่งโน๊ตราก(root) หรือ Tonic จะต้องเป็น D แล้วจะเป็นอย่างไรเราลองมาจัดสเกลดูโดยเลียนแบบ C เมเจอร์ดูนะครับ จะได้ว่า
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
D
E
F
G
A
B
C
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
แต่จากหลักของเมเจอร์สเกลคือระยะห่างของเสียงระหว่างโน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ต้องมีค่าเป็น 1/2 เสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ มีระยะห่างเป็น 1 เสียง แต่จากตารางข้างบนจะเห็นว่าระยะห่างครึ่งเสียงไปอยู่ระหว่างโน๊ตคู่ที่ 2 กับ 3 และ 6 กับ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อกำหนดของสเกลเมเจอร์
คราวนี้เราจะทำยังไงให้โน๊ตดังกล่าวเรียงกันตามหลักของสเกลเมเจอร์ ซึ่งเราจะต้องบังคับให้โน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 มีระยะห่าง 1/2 เสียง คุณลองย้อนไปถึงเรื่องของ
Accidental คือเครื่องหมายชาร์ป, แฟล็ท และ เนเจอรัล ซึ่งสามารถลดหรือเพิ่มเสียงให้สูงขึ้หรือต่ำลงได้
เอาล่ะครับคราวนี้เรามาดูว่าเราจะทำยังไงดีให้ได้สเกล D เมเจอร์ที่ถูกต้องโดยอาศัยเครื่องหมาย ชาร์ปและแฟล็ท
1. ลองใส่เครื่องหมายชาร์ป;# ที่โน๊ตตัวที่ 3 คือ F เราจะได้ F# และมีผลให้โน๊ตตัวที่ 2 (E) และตัวที่ 3 (F#) ห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และ 4 (G) ห่างกัน 1/2 เสียง ซึ่งเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์
2. ต่อไปลองใส่เครื่องหมายชาร์ป;# ที่โน๊ตตัวที่ 7 คือ C เราจะได้ C# และมีผลให้โน๊ตตัวที่ 6 (B) และตัวที่ 7 (C#) ห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน๊ตตัวที่ 7 (C#) และ 8 (D) ห่างกัน 1/2 เสียง ซึ่งเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์
3. ตรวจสอบระยะห่างโน๊ตแต่ละตัวนั้นเป็นไปตามกฎของของสเกลเมเจอร์แล้วดังนั้นเราจะได้ D เมเจอร์สเกลคือ
ลำดับที่
1
2
3*
4
5
6
7*
8
โน๊ต
D
E
F#
G
A
B
C#
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
สรุปว่าเราสามารถสร้าง D เมเจอร์สเกลได้โดยการเรียงโน๊ตเริ่มจาก D เป็นตัวแรกและจบที่ D โดยที่มีการบังคับตัวโน๊ตด้วยเครื่องหมาย # 2 ตัวคือโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และตัวที่ 7 (C#) จึงทำให้เป็นไปตามฎของของสเกลเมเจอร์ และการบังคับนี้เป็นการบังคับถาวร ดังนั้นในการเขียนสเกลบนบรรทัด 5 เส้นจึงเขียนเครื่องหมาย # บนเส้นที่ 5 บังคับให้โน๊ตบนเส้นที่ 5 ซึ่งมีเสียง F กลายเป็น F# ทั้งหมด เช่นเดียวกับการกำหนด # ที่ช่องที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น ซึ่งมีเสียง C ให้กลายเป็น C# ทั้งหมด ดังนั้นเราจะได้ D เมเจอร์สเกลที่สมบูรณ์ดังนี้
ต่อไปลองมาดู F เมเจอร์สเกลดูบ้างนะครับ ด้วยวิธีเดียวกับการสร้างสเกล D เมเจอร์ เรามาเรียงโน๊ตในสเกลก่อนได้ว่า
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
F
G
A
B
C
D
E
F
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
แต่จากหลักของเมเจอร์สเกลคือระยะห่างของเสียงระหว่างโน๊ตตัวที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ต้องมีค่าเป็น 1/2 เสียง ในขณะที่คู่อื่น ๆ มีระยะห่างเป็น 1 เสียง แต่จากตารางข้างบนจะเห็นว่าระยะห่างครึ่งเสียงไปอยู่ระหว่างโน๊ตคู่ที่ 4 กับ 5 และ 7 กับ 8 ซึ่งคู่แรกไม่ตรงกับข้อกำหนดของสเกลเมเจอร์ แต่คู่หลังใช้ได้แล้ว
ต่อไปเรามาดูที่โน๊ตตัวที่ 4 (B) ถ้าเราลดมันลงมา 1/2 เสียงได้จะทำให้มันห่างจากโน๊ตตัวที่ 3 (A) 1/2 เสียงและห่างจากโน๊ตตัวที่ 5 (C) เท่ากับ 1 เสียงพอดี ดังนั้นเราจึงเลือกให้ติดแฟล็ทที่โน๊ตตัวที่ 4 หรือ B จากนั้นเราลองเขียนใหม่ได้
ลำดับที่
1
2
3
4*
5
6
7
8
โน๊ต
F
G
A
Bb
C
D
E
F
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
ลองตรวจสอบระยะห่างของโน๊ตแต่ละตัว ซึ่งก็ตรงตามกำหนดของเมเจอร์สเกลแล้ว ดังนั้นเราจะพบว่าในการไล่สเกล F เมเจอร์จะต้องติดแฟล็ทที่โน๊ต B เสมอ จากนั้นเราลองมาเขียนบนบรรทัด 5 เส้นได้ว่า
ด้วยหลักการเดียวกันนี้คุณสามารถสร้างสเกลอื่น ๆ ได้ทั้งทางชาร์ป (#) และทางแฟล็ท (b) แต่ผมจะไม่แสดงให้ดูทั้งหมดนะครับ คงจะสรุปให้ดูก็พอเพราะหลักการเดียวกันหมด สรุปเรื่องของการตั้งสเกลหรือบันไดเสียงนอกเหนือจาก C เมเจอร์สเกลซึ่งไม่ต้องมีการบังคับด้วยชาร์ปหรือแฟล็ทจะแบ่งเป็น 2 พวกคือ
1. การตั้งสเกลทางชาร์ป ; # ที่นิยมใช้กันจะมี 7 สเกลดังนี้
จำนวนชาร์ป ; #
ชื่อสเกล
Key Signature
โน๊ตที่ติดชาร์ป
1 ชาร์ป
G เมเจอร์สเกล
F
2 ชาร์ป
D เมเจอร์สเกล
F, C
3 ชาร์ป
A เมเจอร์สเกล
F, C, G
4 ชาร์ป
E เมเจอร์สเกล
F, C, G, D
5 ชาร์ป
B เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A
6 ชาร์ป
F# เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A, E
7 ชาร์ป
C# เมเจอร์สเกล
F, C, G, D, A, E, B
2. การตั้งสเกลทางแฟล็ท ; b ที่นิยมใช้กันจะมี 6 สเกลดังนี้
จำนวนแฟล็ท ; b
ชื่อสเกล
Key Signature
โน๊ตที่ติดแฟล็ท
1 แฟล็ท
F เมเจอร์สเกล
B
2 แฟล็ท
Bb เมเจอร์สเกล
B, E
3 แฟล็ท
Eb เมเจอร์สเกล
B, E, A
4 แฟล็ท
Ab เมเจอร์สเกล
B, E, A, D
5 แฟล็ท
Db เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G
6 แฟล็ท
Gb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G, C
7 แฟล็ท
Cb เมเจอร์สเกล
B, E, A, D, G, C, F
ข้อสังเกต : การตั้งสเกลเมเจอร์ มีทั้งหมด 12 key
1. C เมเจอร์สเกล เป็นสเกลมาตรฐานซึ่งไม่ต้องใช้ # หรือ b กำหนดใน Key Signature เป็นสเกลที่กำหนดมาเพื่อเป็นมาตรฐานในการไล่เสียง
2. Key C# ตั้งสเกลทาง # และ Db ตั้งสเกลทาง b แต่เป็น key ที่เป็นเสียงเดียวกัน
3. Key D เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
4. Key Eb ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key D# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
5. Key E เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
6. Key F เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง b เท่านั้น
7. Key F# และ Gb ตั้งสเกลทาง # หรือ b ก็ได้ แต่เป็นเสียงเดียวกัน
8. Key G เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
9. Key Ab ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key G# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
10. Key A เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
11. Key Bb ตั้งสเกลทาง b เท่านั้น ส่วน Key A# ตั้งสเกลทาง # ไม่ได้
12. Key B เมเจอร์สเกล ใช้สเกลทาง # เท่านั้น
ต่อไปผมจะได้กล่าวถึง Mode ต่าง ๆ ในสเกลเมเจอร์ จากในหัวข้อเรื่อง Mode คุณได้รู้ถึง Mode ต่าง ๆ ของสเกล C เมเจอร์แล้ว ซึ่งใช้โน๊ตชุดเดียวกันทั้งหมดแต่จัดเรียงต่างกัน ต่อไปเรามาดูที่ D dorian mode หรือ mode ที่ 2 ของสเกล C เมเจอร์ ลองมาเทียบกับ D เมเจอร์สเกลดู
สำหรับ D dorian mode จะมีการไล่สเกลดังนี้
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
D
E
F
G
A
B
C
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
และสำหรับ D major จะมีการไล่สเกลดังนี้
ลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
โน๊ต
D
E
F#
G
A
B
C#
D
ระยะห่างของเสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1 เสียง
1/2 เสียง
เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างสเกลและโหมดแล้ว จะเห็นว่าเพื่อที่จะแปลงจากสเกล D major ไปเป็น D dorian mode นั้นคุณจะต้องลดเสียงของโน๊ตตัวที่ 3 (F#) และโน๊ตตัวที่ 7 (C#) ของ D major สเกลลง 1/2 เสียง ทำให้โน๊ตตัวที่ 3 เป็น F และตัวที่ 7 เป็น C ซึ่งจะตรงกับ D dorian mode ดังนั้นเราจะเห็นว่าสามารถแปลงจาก major สเกลเป็น dorian mode โดยการติดแฟล็ทที่โน๊ตตัวที่ 3 และ 7 ของเมเจอร์สเกลนั่นเองจึงสรุปเป็นสูตรได้ว่า
dorian mode : 1 2 b3 4 5 6 b7 8 เมื่อเทียบกับเมเจอร์สเกล เช่น A dorian mode จะประกอบด้วย
โน๊ตลำดับที่
1
2
3
4
5
6
7
8
A mojor scale
A
B
C#
D
E
F#
G#
A
สูตรแปลง
1
2
b3
4
5
6
b7
8
A dorian mode
A
B
C
D
E
F#
G
A
และด้วยหลักการเดียวกันนี้คุณจะสามารถหาโหมดอื่น ๆ ของสเกลได้เช่นกัน ดังนั้นจึงสามารถสรุปสูตรของโหมดแต่ละโหมดได้ดังนี้
Mode
ชื่อ Mode
สูตรแปลงจาก Major สเกล
Mode 1
Ionian (major scale)
1 2 3 4 5 6 7 8
Mode 2
Dorian
1 2 b3 4 5 6 b7 8
Mode 3
Phrygian
1 b2 b3 4 5 b6 b7 8
Mode 4
Lydian
1 2 3 #4 5 6 7 8
Mode 5
Mixolydian
1 2 3 4 5 6 b7 8
Mode 6
Aeolian (natural minor)
1 2 b3 4 5 b6 b7 8
Mode 7
Locrian
1 b2 b3 4 b5 b6 b7 8
ต่อไปเรามาดู mode ต่าง ๆ ของ C นะครับโดยอาศัยสูตรแปลงจากตารางข้างบนนี้
Mode ต่าง ๆ ของ C
Notation & Tablature
C Ionian Mode (หรือ C Major Scale)
C Dorian Mode (หรือ Bb เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 2)
C Phrygian Mode (หรือ Ab เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 3)
C Lydian Mode (หรือ G เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 4)
C Mixolydian Mode (หรือ F เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 5)
C Aeolian Mode (หรือ Eb เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 6)
C Locrian Mode (หรือ Db เมเจอร์ขึ้นด้วยโน๊ตตัวที่ 7)
ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่อง major scale และ mode ต่าง ๆ ของ major scale ซึ่งคงทำให้เพื่อน ๆ รู้จักกับมันมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วในเรื่องของ mode นั้นอาจจะไกลตัวไปนิดนึงสำหรับในการเล่นกีตาร์แบบเพื่อสนุกสนาน ไม่ได้เล่นอาชีพหรือแต่งเพลง อย่างไรก็ตามก็ไม่เสียหายที่จะรู้เอาไว้บ้างเผื่อในอนาคตเราอาจจะต้องการศึกษาสูงขึ้นหรือ อยากลองแต่งเพลงเองดูก็อาจจะได้นำเจ้าวัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ก็ได้ ซึ่ง mode แต่ละ mode จะให้สำเนียงที่มีเอกลักษณ์ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่คุณจะนำมาใช
ดนตรี คือ อะไร
ดนตรี เป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มาพร้อม ๆ กับชีวิตมนุษย์โดยที่มนุษย์เองไม่รู้ตัว ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีความสุข สนุกสนานรื่นเริง ช่วยผ่อนคลายความเครียดทั้งทางตรงและทางอ้อม ดนตรีเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ให้มีความเบิกบานหรรษาให้เกิดความ สงบและพักผ่อน กล่าวคือในการดำรงชีพของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายดนตรีมีความเกี่ยว ข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจสืบเนื่องมาจากความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ โดยตรงหรืออาจเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบในการทำงาน เพลงที่เกี่ยวข้องในงานพิธีการ เพลงสวดถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น
ดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ไปสู่ ผู้ฟังเป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส ก่อให้เกิดความสุข ความปลื้มปิติพึงพอใจให้แก่มนุษย์ได้ นอกจากนี้ได้มีนักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากลของมนุษยชาติ เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์ได้นำมาดัดแปลงแก้ไขให้ประณีตงดงามไพเราะเมื่อฟังดนตรีแล้วทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ” นั้นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดภาษาใดก็สามารถรับรู้อรรถรสของดนตรีได้โดยใช้เสียงเป็นสื่อได้เหมือนกัน
มีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ตั้งคำถามว่า “ดนตรีคืออะไร” แล้ว “ทำไมต้องมีดนตรี” คำว่า “ดนตรี” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศกหรือรื่นเริง” จากความหมายข้างต้นจึงทำให้เราได้ทราบคำตอบที่ว่าทำไมต้องมีดนตรีก็เพราะว่าดนตรีช่วยทำให้มนุษย์เรารู้สึกเพลิดเพลินได้
คำว่า “ดนตรี” มี ความหมายที่กว้างและหลากหลายมากนอกจากนี้ยังมีการนำดนตรีไปใช้ประกอบใน กิจกรรมต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยเช่น การใช้ประกอบในภาพยนต์ เนื่องจากดนตรีนั้นสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการสร้างอารมณ์ลักษณะต่าง ๆ ของแต่ละฉากได้ พิธีกรรมทางศาสนาก็มีการนำดนตรีเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยจึงทำให้มีความขลัง ความน่าเชื่อถือ ความศรัทธา มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ดนตรีบางประเภทถูกนำไปใช้ในการเผยแพร่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของกลุ่มคนหรือเชื้อชาติ บางครั้งมนุษย์เราใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการแยกประเภทของมนุษย์ออกเป็น กลุ่ม ๆ เช่น วัยรุ่นในเมืองก็จะชอบฟังเพลงที่มีจังหวะหรือทำนองสนุก ๆ ครื้นเครงความรักหวานซึ้งส่วนวัยรุ่นที่อยู่ในชนบทก็มักจะชอบฟังประเภทเพลง เพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง วัยหนุ่มสาวก็ชอบเพลงทำนองอ่อนหวานที่เกี่ยวกับความรัก สำหรับผู้ใหญ่ก็มักจะชอบฟังเพลงที่มีจังหวะหรือทำนองที่ฟังสบาย ๆ และชอบฟังเพลงที่คุ้นเคย
มนุษย์ เราใช้ดนตรีเป็นเครื่องกระตุ้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการขับรถ การเรียน การวิ่งเหยาะ ๆ ออกกำลังกาย เป็นต้น ที่กล่าวมาข้างต้นการใช้ดนตรีเหล่านี้มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือใช้ดนตรี เป็นส่วนประกอบในการทำร่วมกับกิจกรรมนั้น ๆส่วนจุดมุ่งหมายอื่นๆเป็นเรื่องรองลงมา
ก่อน ที่จะมาเป็นดนตรีให้เราได้ยินได้ฟังกันจนกระทั่งปัจจุบันนี้มนุษย์ได้คิด ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาแล้วไม่น้อยกว่าพันปีดังนั้นดนตรีจึงถือได้เป็น สิ่งที่มีมาคู่กับมนุษย์เลยก็ว่าได้
มีดนตรีชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างจากที่ได้กล่าวมาแล้วซึ่งต้องใช้สติปัญญาสมาธิ ความตั้งใจในการฟังดนตรีชนิดนี้เรียกว่า “ดนตรีคลาสสิก” (Classical Music) ส่วนใหญ่มนุษย์ฟังดนตรีประเภทนี้ฟังเพราะความพอใจและความรู้สึกสนุกสนานในการฟังไม่มีเหตุผลหรือจุดมุ่งหมายใด ๆ
มนุษย์ จำนวนมากไม่เข้าใจว่าดนตรีสำคัญอย่างไร ดนตรีจะมีค่าได้อย่างไรในเมื่อเราไม่สามารถใช้มันเพื่อทำอะไรได้เลยเพราะ ดนตรีเป็นการสื่อในลักษณะของนามธรรม โดยทั่วไปแล้วมนุษย์เราเข้าใจว่าสิ่งของส่วนใหญ่สำคัญเพราะเราจำเป็นต้องใช้ มันในลักษณะของรูปธรรม แต่สำหรับดนตรีและงานศิลป์อื่น ๆ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น ประติมากรรม บทกวี วรรณคดี ฯลฯ มีเพียงกลุ่มคนที่สนใจจริง ๆ เท่านั้นที่จะเข้าใจและซาบซึ้ง เพราะความสำคัญของสิ่งเหล่านั้นเป็นไปในแง่ของจิตวิทยา ไม่ใช่ในแง่ของการปฏิบัติ
เพราะ เหตุใดมนุษย์เราจึงต้องสร้างสิ่งดังกล่าวขึ้นมาซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น การประเมินคุณค่าจำเป็นต้องใช้สติปัญญาและความพอใจของคนคนนั้นจึงจะรู้คุณ ค่า นอกจากนี้ไม่มีใครรู้แน่นอนว่าความพอใจมีมาตรฐานของการวัดอย่างไร ถึงแม้ว่าจะมีทฤษฎีที่น่าสนใจมากมายสำหรับศึกษาเปรียบเทียบ อย่างไรก็ดีสิ่งหนึ่งที่แน่นอนที่สุดคือ การแสดงออกเหล่านี้เป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ เพราะสัตว์ไม่มีดนตรี ไม่มีความงามทางศิลป์ ฯลฯ
นอกจากนี้แล้วมนุษย์ยังแตกต่างจากสัตว์ตรงคำว่า “การดำรงอยู่” (Exist) และ “การดำรงชีวิต” (Live) มนุษย์ เราไม่ต้องการเพียงแต่เพื่อดำรงชีวิตอยู่เท่านั้น แต่มนุษย์เรายังมีความต้องการสิ่ง
อื่น ๆ เช่น อยากรวยมากขึ้น อยากมีรถหรู ๆ ขับ อยากมีบ้านสวย ๆ อยู่ อยากมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามสัตว์ไม่ได้มีความต้องการอยากจะได้เช่นเดียวกับมนุษย์