วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขั้นคู่เสียง (Interval)

ขั้นคู่เสียง (Interval)
ขั้นคู่เสียง (Interval) หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดความแตกต่างระหว่างเสียง 2 เสียง โดยการนับระยะห่างของเสียงเรียงตามลำดับขั้นของโน้ตในบันไดเสียง ถ้าคู่เสียงใดเปล่งเสียงออกมาพร้อมกันหรือมีการออกเสียงควบคู่กันในช่วงใดช่วงหนึ่ง เรียกว่า ขั้นคู่เสียงประสาน (Harmonic Interval) เขียนตัวโน้ตในแนวดิ่งถ้าคู่เสียงใดเปล่งเสียงออกมาตามหลังกันโดยไม่มีลักษณะการออกเสียงควบคู่กัน เรียกว่า ขั้นคู่เสียงทำนอง (Melodic Interval) เขียนตัวโน้ตในแนวนอน1. ชื่อขั้นคู่เสียง ชื่อที่ใช้เรียกขั้นคู่เสียงประกอบด้วย 2 ชื่อ คือ 1.1 ชื่อตัวเลข (Number name) ได้จากการนับระยะห่างของเสียง 2 เสียง โดยเรียงจากเสียงหลักขึ้นหรือลง ตามลำดับขั้นของบันไดเสียงขั้นคู่ 1 หรือยูนิชัน จัดเป็นขั้นคู่เสียงได้ แม้จะไม่มีความแตกต่างกันของเสียงก็ตาม 1.2 ชื่อคุณภาพเสียง (Specific name) เป็นชื่อที่บอกคุณภาพเสียงของขั้นคู่เสียงว่ามีน้ำเสียงอย่างไร หรือให้ความรู้สึกอย่างไร มี 5 ชนิด คือ 2.1 ขั้นคู่เสียงเมเจอร์ (Major) ให้ความรูสึกแข็งขัน สดชื่น ร่าเริง 2.2 ขั้นคู่เสียงไมเนอร์์ (Minor) ให้ความรู้สึกอ่อนโยน เศร้า ขรึม 2.3 ขั้นคู่เสียงอ็อกเมนเต็ด (Augmented) ให้ความรู้สึกขัดขืน กระด้าง ประหลาด 2.4 ขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์ (Perfect) ให้ความรู้สึกแจ่มใจ แข็งแรง กลมกลืน 2.5 ขั้นคู่เสียงดิมินิชด์ (Diminished) ให้ความรู้สึกกระด้าง แปร่ง ไม่กลมกลืน การอ่านขั้นคู่เสียงให้เรียกชื่อตัวเลขก่อนแล้วตามด้วยชื่อคุรภาพเสียง ส่วนการเขียนให้เขียนชื่อคุณภาพเสียงแล้วตามด้วยชื่อตัวเลข เช่นขั้นคู่ 1 เปอร์เฟ็คท์ เขียนเป็น per.1stขั้นคู่ 2 เมเจอร์ เขียนเป็น maj.2ndขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ เขียนเป็น min.3rd2. การพิจารณาขั้นคู่เสียง การพิจารณาขั้นคู่เสียงให้ถูกต้องและการนำไปใช้เรียบเรียงเสียงประสานนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบันไดเสียง (Scale) ก่อน 2.1 ขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์ (Perfect) ได้จากการนับระยะห่างของเสียงเริ่มจากโทนิคขึ้นไปถึงขั้นที่ 1 ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 5 และขั้นที่ 8 > โทนิคถึงขั้นที่ 1 เรียกว่า คู่หนึ่งเปอร์เฟ็คท์ (per.1st) > โทนิคถึงขั้นที่ 4 เรียกว่า คู่สี่เปอร์เฟ็คท์ (per.4th) > โทนิคถึงขั้นที่ 5 เรียกว่า คู่ห้าเปอร์เฟ็คท์ (per.5th) > โทนิคถึงขั้นที่ 8 เรียกว่า คู่แปดเปอร์เฟ็คท์ (per.8th) ขั้นคู่ 1 ขั้นคู่ 4 ขั้นคู่ 5 และขั้นคู่ 8 ในบันไดเสียงเมเจอร์ เป็น เปอร์เฟ็คท์ 2.2 ขั้นคู่เสียงเมเจอร์ (Major) ได้จากการนับระยะห่างของเสียงเริ่มจากโทนิคขึ้นไปถึงขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 6 และขั้นที่ 7 > โทนิคถึงขั้นที่ 2 เรียกว่า คู่สองเมเจอร์์ (maj.2nd) > โทนิคถึงขั้นที่ 3 เรียกว่า คู่สามเมเจอร์์ (maj.3rd) > โทนิคถึงขั้นที่ 6 เรียกว่า คู่หกเมเจอร์์ (maj.6th) > โทนิคถึงขั้นที่ 7 เรียกว่า คู่เจ็ดเมเจอร์์ (maj.7th) ขั้นคู่ 2 ขั้นคู่ 3 ขั้นคู่ 6 และขั้นคู่ 7 ในบันไดเสียงเมเจอร์ เป็น เมเจอร์ 2.3 ขั้นคู่เสียงไมเนอร์์ (Minor) ได้จากการลดระยะครึ่งเสียงของขั้นคู่เสียงเมเจอร์ให้แคบลงมาอีกครึ่งเสียง ซึ่งการเพิ่มหรือลดระยะครึ่งเสียงนี้เรียกว่า โครมาติค เซมิโทน (Chomatic semitone) ทำให้ชื่อคุณภาพเสียงเปลี่ยนไปแต่ชื่อตัวเลขไม่เปลี่ยน 2.4 ขั้นคู่เสียงอ็อกเมนเต็ด (Augmented) ได้จากการเพิ่มหรือลดระยะครึ่งเสียงของขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์และขั้นคู่เสียงเมเจอร์ ให้ห่างออกไปอีกครึ่งเสียง 2.5 ขั้นคู่เสียงดิมินิชด์์ (Diminished) ได้จากการลดระยครึ่งเสียงของขั้นคู่เสียงเปอร์เฟ็คท์และขั้นคู่เสียงไมเนอร์ให้แคบลงมาอีกครึ่งเสียง ขั้นคู่เสียงใดที่มีระยะครึ่งเสียงเท่ากันแต่มีชื่อต่างกัน เรียกว่า ขั้นคู่เสียงเอ็นฮาร์โมนิค (Enharmonic interval)3. ขั้นคู่เสียงผสม (Compound interval) ขั้นคู่เสียงที่มีระยะห่างของเสียงภายใน 1 คู่แปด เรียกว่า ขั้นคู่เสียงธรรมดา (Simple interval) ส่วนขั้นคู่เสียงที่มีระยะห่างของเสียงเกินกว่า 1 คู่แปด เรียกว่า ขั้นคู่เสียงผสม (Compound interval) ขั้นคู่เสียงผสมมีชื่อคุณภาพเสียงเหมือนกับขั้นคู่เสียงธรรมดา ต่างกันที่ชื่อตัวเลขเท่านั้น เพิ่มขึ้นโดยการบวก 7 เข้าไป เช่น per.8th per.11th maj.14th เป็นต้น

3 ความคิดเห็น: